LOGO

Blog

Blog

Affordable Luxury

< Home
Dec 15

วัสดุทดแทน ที่ได้ทั้งช่วยโลกและตอบโจทย์การออกแบบ

ความอ่อนไหวเปราะบางของโลก ถูกย้ำเตือนชัดขึ้นจากภาวะโรคระบาด ทำให้คนทั้งโลกหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนและปลอดภัยมากขึ้น และเทรนด์ที่หลายคนบนโลกให้ความสำคัญในตอนนี้คือ เทรนด์ด้านสิ่งแวดล้อมนั่นเอง ซึ่งทำให้เกิดแนวคิด Circular economy ขึ้น โดยเป็นแนวคิดเพื่อแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว และเป็นทางเลือกใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืนในอนาคต
Circular Supplies หรือ วัสดุทดแทน คือการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ เพื่อรักษาต้นทุนของธรรมชาติ และลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งวัสดุทดแทนคือสิ่งที่สถาปนิกและนักออกแบบในปัจจุบันต่างให้ความสำคัญ

ทำความรู้จักวัสดุทดแทน (Circular supplies)

วัสดุทดแทน (Circular Supplies) คือการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่แทนที่จะ ‘ผลิต ใช้ แล้วทิ้งไป’ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการขับเคลื่อนโลกด้านสิ่งแวดล้อม และยังเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ด้วย โดยวัสดุทดแทนจะถูกออกแบบให้มีความทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน ใช้ทรัพยากรน้อยลงในขณะที่คุณภาพไม่ได้ด้อยกว่าเดิม ซึ่งตอบโจทย์เทรนด์ด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
วัสดุทดแทนที่นิยมใช้ในงานสถาปัตยกรรม
นอกจากเหตุผลด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมแล้ว สิ่งสำคัญที่ทำให้สถาปนิกและวิศวกรเลือกหยิบวัสดุทดแทนไปใช้ในงานก่อสร้างและสถาปัตยกรรม คือวัสดุทดแทนที่ถูกผลิตอย่างมีคุณภาพ จะมีความคงทนที่เหนือกว่าวัสดุแท้จากธรรมชาติ มีลวดลายและผิวสัมผัสที่เลียนแบบวัสดุธรรมชาติได้อย่างแนบเนียน สามารถตอบโจทย์ทั้งในด้านการใช้งานและสุนทรียภาพ โดยวัสดุทดแทนที่นิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ได้แก่ วัสดุทดแทนหิน วัสดุทดแทนไม้ วัสดุทดแทนเหล็ก และ วัสดุทดแทนอิฐ เป็นต้น
วัสดุทดแทนหิน
หิน ได้กลายเป็นวัสดุสำคัญในการตกแต่งที่สะท้อนถึงความคลาสสิค อบอุ่น หรูหรา และแข็งแรง โดยหินที่มักนำมาใช้ในการตกแต่งมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น หินอ่อน หินทราเวอทีน หินแกรนิต เป็นต้น โดยระดับราคาจะขึ้นอยู่กับลวดลายและความยากในการได้มา ดังนั้นวัสดุทดแทนหิน จึงถูกมองว่าเป็นวัสดุสำคัญที่สามารถลดต้นทุนในงานสถาปัตยกรรม เพราะนอกจากจะมีราคาที่ต่ำกว่าหินจริงแล้ว วัสดุทดแทนหินที่ถูกผลิตด้วยนวัตกรรมชั้นนำ จะสามารถให้ลวดลายที่สวยงาม มีความคงทนมากกว่า และดูแลรักษาได้ง่ายกว่าหินจริง
วัสดุทดแทนหินจาก Elegant Decor ถูกผลิตจากนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผ่านความร้อนในเตาเผาที่มีอุณหภูมิสูงถึง 1,250 องศาเซลเซียส และแรงกดที่มากกว่า 7,200 ตัน มีน้ำหนักเบาแต่มากด้วยความทนทานต่อความร้อนและความชื้น ติดตั้งได้ง่าย ลวดลายจากหลายวัสดุหินธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น หินอ่อนมากินา, หินอ่อนทราเวอทีน, หินอ่อนคาเรรา, หินอ่อนแอมบ้า และอีกมากมาย
วัสดุทดแทนไม้
สำหรับประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น ต้องพบเจอความร้อนและฝนตกตลอดเวลา ทำให้ ‘ไม้’ กลายเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมในการก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ซึ่งไม้จริงมักจะพกปัญหาที่น่าหนักใจตามมาหลายประการ เช่น ไม้หด, ไม้บวม หรือปัญหาจากปลวก เป็นต้น วัสดุทดแทนไม้ จึงถูกนำมาใช้เพื่อลดปัญหาด้านการใข้งาน แต่ยังให้คุณค่าในเรื่องความสวยงามอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้กับงานผนัง งานตกแต่งอาคาร หรือใช้เป็นวัสดุปูพื้น ก็ตาม
วัสดุทดแทนไม้จาก Elegant Decor มีวัสดุทดแทนไม้จากไม้จริงหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ไม้สปรูซ, ไม้พีช, ไม้จันทร์, ไม้วอลนัต และอีกมากมาย โดยมาพร้อมคุณสมบัติการกันความร้อนตามมาตรฐานสากล อัตราการดูดซึมน้ำ <0.1% และค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานที่ระดับ 3
วัสดุอลูมิเนียมทดแทนงานผนังและฝ้า
เดิมทีแล้ววัสดุสำหรับงานฝ้าเพดานมักจะใช้วัสดุแผ่นที่ทำจากยิปซัมไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือฝ้าอะคูสติก ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการนำวัสดุอลูมิเนียมที่เรียกว่า Coil Coating มาใช้ทดแทนวัสดุสำหรับงานผนังและฝ้าแล้ว เพราะเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่โดยการหลอมได้อย่างสมบูรณ์ และไม่ทำให้คุณภาพของวัสดุลดลง อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ รวมถึงมีอายุการใช้งานค่อยข้างยาวนานประมาณ 5-10 ปี ถึงแม้อลูมิเนียม Coil Coating จะไม่สามารถทดแทนงานผนังและฝ้าได้ทั้งหมด แต่ขึ้นอยู่กับบริบทและโครงสร้างของแต่ละอาคาร แต่ก็เป็นวัสดุที่ช่วยลดขยะสะสมและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมได้
วัสดุทดแทนอิฐ
อิฐ นิยมใช้ในงานตกแต่งผนัง ซึ่งปัญหาของอิฐคือเรื่องของความชื้น และการติดตั้งที่ต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญ โดยวัสดุทดแทนอิฐในปัจจุบัน อาจไม่สามารถลอกเลียนอิฐมาได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่จะเป็นวัสดุที่ให้ผิวสัมผัสคล้ายอิฐ แต่จะมาพร้อมนวัตกรรมกันความชื้นที่ไม่สั่งสมคราบสกปรกแทน
วัสดุทดแทน (Circular Economy) นับว่าเป็นทางเลือกใหม่ที่นำมาใช้ทดแทนและลบล้างข้อจำกัดเดิมที่วัสดุธรรมชาติไม่สามารถทำได้ และยังเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูระบบนิเวศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนของโลกนี้อีกด้วย
< กลับหน้าหลัก