LOGO

Blog

Blog

Affordable Luxury

< Home
May 29

รถไฟฟ้ามาหาที่บ้าน : อยากมีรถไฟฟ้า ต้องจัดเตรียมอะไรบ้าง

ต้องบอกว่าปีนี้เป็นปีแห่งก้าวแรกของการเข้าสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถ EV ก็ว่าได้ โดยเฉพาะเมื่อราคาน้ำมันพุ่งสูงจนเกินกว่าจะควบคุม ทำให้หลายคนมองว่า การซื้อรถ EV สักคัน ก็อาจเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวมากกว่า 

แต่ต้องบอกว่า การซื้อรถ EV ไม่ใช่แค่เพียงซื้อรถเท่านั้นก็จบเรื่องกันไป แต่ควรจะต้องเตรียมโรงรถที่บ้านให้พร้อมสำหรับการชาร์จไฟเสียก่อน ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น ลองมาดูกันเลย

เตรียมโรงรถรองรับรถยนต์ไฟฟ้า มีรายละเอียดอะไรบ้าง?

1. ตรวจสอบประเภทหัวปลั๊กของรถยนต์ไฟฟ้า

หัวปลั๊กเพื่อจ่ายไฟฟ้าปัจจุบันแตกต่างกันไปตามประเทศผู้ผลิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 

  • Type 1 สำหรับรถญี่ปุ่นและอเมริกา เช่น Nissan Leaf และ Tesla (ขายในอเมริกา)
  • Type 2 สำหรับรถยุโรป เช่น Volvo, BMW, Porche, Mercedez-Banz และ Tesla (ขายในยุโรป) และรถไฟฟ้าที่ขายในไทยส่วนใหญ่จะมีหัวปลั๊กแบบนี้
  • Type 3 สำหรับรถจีน เช่น BYD หรือแบรนด์อื่นที่ขายในจีน

 

2. ขนาดของ On-Board Charger

ระบบควบคุมการดึงไฟฟ้า​ หรือ On-Board Charger ส่วนใหญ่จะมีขนาดตั้งแต่ 3.6 kW – 22 kW โดยจะขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์ โดย On-Board Charger จะมีส่งผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟ ซึ่งสามารถสอบถามขนาดของ On-Board Charger ได้จากศูนย์บริการรถยนต์ที่ซื้อได้ 

  1. 3. ติดต่อผู้ให้บริการ 

 

ปัจจุบันคนที่อยากติดตั้งระบบชาร์จรถไฟฟ้าภายในบ้าน สามารถไปติดต่อกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ในพื้นที่ได้เลย โดยจะมีเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้านก่อน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

  • หากระบบไฟฟ้าภายในบ้านสามารถปรับปรุงได้ สามารถเพิ่มขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าได้เลย
  • หากไม่สะดวกปรับปรุงระบบไฟฟ้า จะเป็นการขอติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่ 2 สำหรับแยกระบบไฟฟ้า ซึ่งทำให้ 1 บ้านเลขที่ จะมีมิเตอร์ไฟฟ้า 2 หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) แต่จะสามารถเลือกใช้อัตราค่าไฟที่แตกต่างกันได้ โดยมีข้อกำหนดคือต้องเป็นมิเตอร์เพื่อที่อยู่อาศัยหรือกิจการขนาดเล็กที่ไม่ใช่เพื่อการพาณิชย์ 

 

  1. 4.เลือกจุดติดตั้งที่เหมาะสม

 

ตำแหน่งของจุกติดตั้งค่อนข้างสำคัญ แม้ส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งไว้ที่บริเวณโรงรถอยู่แล้ว แต่ว่าก็ยังมีรายละเอียดที่ต้องตรวจสอบ คือ

  • ระยะจากจุดติดตั้งจนถึงจุดชาร์จไฟ ไม่ควรมีระยะเกิน 5 เมตร เพราะสายเครื่อง EV Charger ส่วนใหญ่จะมีขนาด 5-7 เมตร
  • ควรเลือกจุดติดตั้งเครื่องชาร์จที่สามารถเดินสายไฟจากเครื่องชาร์จ ไปยังตู้เมนไฟฟ้าได้อย่างสะดวก เพราะยิ่งไกลจะยิ่งมีค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟ
  • จุดติดตั้งเครื่องชาร์จไฟ ควรจะต้องอยู่ในจุดที่มีหลังคาปกคลุม เพื่อป้องกันละอองฝน

ข้อควรระวังที่ต้องรู้สำหรับการติดตั้งเครื่องชาร์จ

ควรพิจารณาปริมาณการใช้ไฟฟ้าปัจจุบันก่อนติดตั้ง เพื่อดูว่าปริมาณไฟฟ้าที่ใช้อยู่ เมื่อรวมกับปริมาณการใช้ไฟฟ้ากับรถยนต์ในอนาคต จะเกินพิกัดของตู้ควบคุมไฟฟ้า หรือ Miniatur Circuit Breaker (MDB) หรือไม่ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน และป้องกันอันตรายจากการใช้ไฟฟ้าเกิน

การเดินระบบไฟฟ้าของที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ควรแยกออกจากระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และควรดำเนินการโดยช่างที่มีประสบการณ์และความชำนาญ

ไม่ควรนำสายชาร์จแบบพกพาไปเสียบกับเต้ารับเดิมที่มีอยู่แล้วในบ้าน เพราะระบบเดิมไม่ได้ถูกออกแบบมารองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้กระแสไฟฟ้าสูง อาจเกิดอันตรายได้

รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถ EV ถือเป็นยานยนต์แห่งอนาคตที่เดินทางมาถึงปัจจุบันแล้ว และกลายเป็นที่หมายปองของคนรักรถหลายๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า เชื่อว่าจำนวนผู้ใช้รถ EV ในไทยจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแน่นอน

< กลับหน้าหลัก